I have the right. He did it to my family.

If you were a father, mother, brother or sister of someone who came to ask for their daughter or family member to go in marriage, and then they became a monk, leaving your daughter or family member who they came to ask for to marry to be alone, lonely and sad like Queen Phimpa, would you be angry? Would you go and scold her? You might hold a grudge and not cremate her. Or if you met her again, you would have to go and scold her or find a way to harass her to make yourself satisfied by what you did to my lover. You feel that you are justified in doing that because that person did it to “my family”. Let’s look at the truth that we think we know. Are you sure that “we” have the right? During the time of the Buddha, Suppabuddha, who was the father of Phra Thevadat and Phra Nang Yasodhara Phimpa, the wife of Prince Siddhattha, when he knew that Phra Thevadat was swallowed up by the earth because he wanted to destroy the Buddha, instead of being aware of his sins and merits, he became angry and resentful. He was also angry at Prince Siddhattha for abandoning his daughter to become a monk, so he led his ministers and courtiers to sit and drink liquor, blocking the Buddha’s way to preach to the people. This prevented the Buddha from walking because there was only one way out. He had to go without food for one day. When Ananda asked Suppa Buddha about his fault for doing so, the Buddha, who knew by his intuition, said, “Ananda, after seven days, Suppa Buddha will follow Devadatta to hell.” When Suppa Buddha learned of the Buddha’s words, he went up to the seventh floor of the castle and ordered the gatekeepers to prevent him from leaving the castle for seven days. Suppa Buddha stayed in the seventh floor of the castle until the seventh day when he heard the sound of his favorite glass horse neighing. Worried about the horse, Suppa Buddha ran down. The gatekeepers thought that the seven days had passed as prescribed, so no one prevented them. When Suppa Buddha stepped out of the castle, As soon as his foot stepped on the ground, the ground opened up, sucking Suppabuddha into the deep hell as the Buddha had said. If Suppabuddha thought correctly as most people saw this as righteous, such as I could do it to him because he did it to my family, and we still don’t understand how Suppabuddha was wrong because he did it for his family, that shows that we ourselves don’t understand merit, demerit, and sakkayaditthi, wrong views of the self, person, us, them. Or do we just think that it’s wrong because Suppabuddha did it to the Buddha, because he is a person with great merit, obstructing him who is about to save beings is a heavy karma? Yes, thinking like that is definitely not wrong, but it still won’t reach the root of the action. But the starting point when Suppabuddha did this, did it start from the feelings that were written down at the beginning, right? That’s why we started to do these things. If we were in the same situation, we might not think or act any differently, because we ourselves are in the fabrication of our thoughts. However, the person we did it to is not the Buddha. That doesn’t mean it won’t have an effect, but the effect will be less severe, from our own evil and resentful minds. Does that mean we won’t be able to do anything for our family? Of course, because all the karma comes from our own hatred and evil deeds. And those evil actions have even more severe consequences because they are done to people who are the world’s field of merit. That is why they result in heavy karma. But don’t forget that we thought that Her Majesty did not deserve to be abandoned like this, in the end Her Majesty Queen Phimpha attained enlightenment and became an arahant after Prince Siddhattha became a monk. Because of misunderstanding, people never stop creating karma. And if we do things with the same feeling as Suppabuddha, believe me, there will always be an inner voice trying to find a reason to protect ourselves in what we will do or have done. That may make us feel that we are doing the right thing, but the truth is not dependent on anyone’s beliefs or feelings. So how can right view or right opinion arise? How can we understand these things according to the truth? Let’s practice Dhamma… listen to Dhamma. Don’t just think about it. 2013-08-30

 

Everyone who does wrong will think that they are right.

In a meditation course of a university student, after the students had practiced and listened to the Dhamma until the end of the course, on the last day, there was a group of comments. A male student came out to tell his story in an interesting way. “When I was 17 years old, one evening while I was at home, my younger brother came home from school running into the house gasping for air and told me, “Brother, I was chased and beaten by a gangster. They are waiting in front of the house right now.” Suddenly, I felt very angry, so I ran to grab a gun and went out in front of the house to chase and shoot at them angrily. From the incident that day, I was arrested by the police. But because I was not yet 18 years old, I did not go to jail.” But how I feel now after listening to the Dhamma and practicing Dhamma with the teacher is that I feel that I did something wrong that day. But what I am curious about now is why did I feel that I did the right thing at that time? I was protecting my younger brother. So I have a feeling that everyone who does wrong will feel that they are doing the right thing. Teacher, who will tell me when everyone is doing something wrong? But there will be a feeling inside telling us that we are doing the right thing. This student is very wise. He saw the truth more than what ordinary people should see. Ordinary people only see themselves, but this sees it out to everyone. This is the symptom of a person who has temporarily broken down sakkayaditthi. This answer is interesting. I believe that most people, if asked to answer this question, will answer “mindfulness”. But for me, the answer is “right view”. Why do we still do it even though mindfulness warns us? Angry – we know everything, can’t help it. Greedy – we want to get it. Mindfulness warns us, but in the end we buy it. Delusion – we accept being deluded because it is enjoyable, it is fun. Craving arises. We accept doing wrong just because we can’t stand it. Please, these people are all warned by mindfulness. When right view arises, that is, wisdom arises that truly knows right from wrong, reaching the heart and mind of each person. That way, there is no way to intend to harm or harm anyone else. 2013-06-28

เกี่ยวกับคุณแม่ยินดี พันธุนะ (สุขสด)

คุณแม่ยินดี เกิดวันที่ 17 ตุลาคม 2481 เกิดที่ตำบลไม้เรียง สถานีพานพออำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีบุตรธิดา 3 คนคือนายประเสริฐ อุทัยเฉลิม, นางสาวกุลวดี ฤทัยเฉลิม และนางสาวอตินุช สุขสด

Read More “เกี่ยวกับคุณแม่ยินดี พันธุนะ (สุขสด)”

เกี่ยวกับอ.ประเสริฐ อุทัยเฉลิม

ก่อนที่จะเข้ามาศึกษาธรรม :เป็นนักธุรกิจเรียนจบปริญญาโทจากสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2523 จากนั้นทำธุรกิจนำเข้า และอสังหาริมทรัพย์ จนปี 2539 ยุค IMF เศรษฐกิจเกิดการผันผวนอย่างรุนแรงธุรกิจที่ ทำจึงล้มลง มีความทุกข์มาก จากภาวะสิ้นเนื้อประดาตัว คุณแม่ยินดีจึงแนะนำให้เข้า ปฏิบัติธรรม

Read More “เกี่ยวกับอ.ประเสริฐ อุทัยเฉลิม”

เกี่ยวกับสวนยินดีเกาะพะลวย

เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังคอร์สที่สวนยินดีธรรม สุราษฎร์ธานี อ.ประเสริฐ อุทัยเฉลิม ออกเดินทางเพื่อหาสถานที่สงบเพื่อจะปลีกวิเวกหลังจากเดินทางเปิดคอร์สและบรรยายธรรมติดต่อกันเป็นเวลานาน จึงตั้งใจเดินทางมาพักค้างในป่าเขาพลายดำซึ่งเคยได้ยินว่าเป็นสถานที่สงบและยังคงความเป็นป่าที่ สมบูรณ์ เมื่อขึ้นไปถึงศูนย์อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเขาพลายดำ เจ้าหน้าที่แจ้งว่าไม่ได้ทำหนังสือแจ้งมาล่วงหน้าจึงไม่สามารถให้พักค้างได้ จึงเดินทางกลับลงมาเวลา 6 โมงเย็น ใกล้จะค่ำแล้วจึงเริ่มมองหาสถานที่ที่จะกางเต็นท์พักแรมแถวๆริมทะเล เมื่อซับผ่านร้านอาหารครัวบางปอซึ่งอยู่ติดถนนบรรยากาศดูเงียบสงบดี จึงกลับรถและเลี้ยวเข้าไปขอพักกางเต้นท์ค้างแรมสักคืน เจ้าของร้านอนุญาตจึงกางเต้นท์พักแรมที่ใต้ต้นหูกวางใหญ่ด้านหน้าชายหาด (ปัจจุบันอยู่หน้าบ้านไทย ริมทะเล) ก่อนเดินทางกลับได้พูดคุยกับเจ้าของร้านและถามคำถามที่เพียงอยากรู้ว่า “ที่ดินแถวนี้เป็นอะไรกัน?” ได้รับคำตอบจาก เจ้าของร้านว่า “นส.3ก” “ที่นี่จะขายนะ””ไร่ละ 2 ล้านกว่า” บทสนทนาจบลงตรงนั้น และ อ.ประเสริฐ อุทัยเฉลิม ก็เดินทางออกไป นั่นเป็นเพียงคำเสนอลอยๆ ที่ไม่มีการตอบสนองในเวลานั้นใครจะไปคาดคิดว่าบทสนทนาประโยดนั้นจะเป็นจุดเริ่มต้นของ “สวนยินดีทะเล”ในปัจจุบันนี้

Read More “เกี่ยวกับสวนยินดีเกาะพะลวย”

บรรยายกรุงเทพ ครั้งที่ 2/2567

ข้อมูลคอร์ส
วันที่

15 ธันวาคม 2024
สถานที่จัด
บริษัท พี.เอส.ฟู้ด โปรดักส์ จำกัด (หอประชุมชั้น 3 อาคารเอ)
สมัคร
เจ้าภาพ
ค่าอาหารและที่พัก
ร่วมเป็นเจ้าภาพ 300 บาท
แจ้งเดินทาง

รายละเอียด

บรรยายกรุงเทพ ครั้งที่ 2/2567 

วันที่ 15 ธันวาคม 2567

สถานที่ หอประชุมชั้น 3 อาคาร A บริษัท พี.เอส.ฟู้ด โปรดักส์ จำกัด

รับจำนวน 500 คน

***เปิดรับสมัครผ่านลิงค์ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2567***

กำหนดการ :

08.30-09.30 น. ลงทะเบียน

09.30-12.00 น. บรรยาย

12.00-13.00 น. รับประทานอาหาร

13.00-15.00 น. บรรยาย

**ร่วมเป็นเจ้าภาพอาหารและการจัดงาน ท่านละ 300 บาท**

การแต่งกาย :

แต่งกายด้วยชุดสุภาพ ไม่ใส่เสื้อคอลึก เสื้อบาง กางเกงขาสั้น และเป็นชุดที่สะดวกในการนั่งพื้น นั่งสมาธิฟังธรรม (เน้นการนั่งพื้นเป็นหลัก) …ท่านที่มีปัญหาข้อเข่าหรือท่านผู้สูงอายุมีเก้าอี้หลังห้องบริการ

การเดินทาง :

แผนที่ Google map :

PS Foods

ท่านที่นำรถมาสามารถจอดรถในโรงงานได้

การเดินทางด้วย BTS ลงรถที่สถานี การเคหะฯ มีรถบริการรับส่งติดป้าย “ฟังธรรม อ.ประเสริฐ”

รอบรถวิ่งทุก 30 นาที ในเวลา 07.00 / 07.30 / 08.00 และ 08.30 น.

ขั้นตอนการสมัคร :

คลิกสมัครที่ลิงค์ –> อ่านรายละเอียดให้ชัดเจน และโอนเงินเก็บสลิปรอไว้ก่อนการกรอกรายละเอียดสมัคร –> กรอกรายละเอียด –> แนบสลิปการโอนเงิน –> กด Submit (เสร็จสิ้นการสมัคร)
**ท่านจะได้รับอีเมลตอบรับการสมัครอัตโนมัติ หากไม่ได้รับ กรุณาเช็คที่ Junk Mail ของท่าน**

ลิงค์การเปิดรับสมัคร จะเริ่มในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ค่ะ 

คอร์สเกาะพะลวย วันออกพรรษา

ข้อมูลคอร์ส
วันที่
10-17 ตุลาคม 2024
สถานที่จัด
ธุดงคสถาน มัคคานุคาวิเวก ก.พะลวย จ.สุราษฎร์ธานี
สมัคร
เว็บไซต์
ค่าอาหารและที่พัก
3,200 บาทหรือแล้วแต่ทำบุญ
แจ้งเดินทาง
ใช่

รายละเอียด

การเตรียมตัวและกำหนดการ คอร์สธุดงคสถาน มัคคานุคาวิเวก เกาะพะลวย หมู่เกาะอ่างทอง จ.สุราษฎร์ธานี
สถานที่ฝึกฝน – ขัดเกลากิเลส
 หลักสูตรที่จัดที่นี่ ผู้ที่จะไปเข้าต้องเข้าใจในสถานที่และตนเองก่อนที่จะสมัคร

เรื่องที่ 1 :

สถานที่แห่งนี้ไม่ใช่ศูนย์ปฏิบัติธรรมแบบที่ท่านเคยไปเข้าคอร์ส  ไม่มีการบริการหรืออำนวยความสะดวกใดๆ  ต้องนึกสภาพท่านไปวัดป่า มีที่พักให้ เสื่อผืนหมอนใบ( จริงๆ… มีให้แค่นั้น ไม่ใช่คำภาษิต) เริ่มต้นตั้งแต่การทำความสะอาดกุฏิเองเมื่อไปถึง การดูแลกวาดบริเวณที่พักและส่วนกลาง ล้างห้องน้ำรวม ศาลาฟังธรรม ในกุฏิที่พักไม่มีไฟฟ้า (เนื่องจากเกาะนี้เป็นเกาะพลังงานธรรมชาติ จึงไม่มีไฟฟ้า ทางสำนักต้องใช้ solar cell ซึ่งจะมีเฉพาะจุดที่จำเป็นเท่านั้น) ส่วนห้องน้ำนั้น บางหลังมีห้องน้ำในตัว (จะจัดให้ผู้มีอุปการคุณในการร่วมสร้างก่อน) บางหลังมีไม่มีห้องน้ำในตัว แต่มีอย่างหนึ่งให้อุ่นใจได้บ้างคือห้องน้ำเป็นโถสุขภัณฑ์ทันสมัยในยุคปัจจุบัน แต่ความที่อยู่บนยอดเขาการใช้น้ำจำเป็นต้องประหยัดมาก

ดังนั้นผู้ที่จะสมัครอย่าคาดหวังที่จะไปเพื่อหาความสะดวกสบาย ที่นี่คือเกาะ ห่างไกลจากแผ่นดิน อยู่บนยอดเขาที่ต้องขึ้นด้วยรถออฟโรดเท่านั้น สำหรับการเดินเท้าระยะทางประมาณ 2 กิโล(จากสำนักล่าง)  ท่านจะได้เข้าใจและอยู่ตามสภาพ ไม่มาคอยขอสิ่งต่างๆ อย่างที่ท่านอยากจะให้มีหรือเคยมี และท่านไม่ต้องเตรียมของที่เคยมีมาอย่างมากมายเพื่อให้ได้ใช้ชีวิตอย่างที่เคยเป็น (ถ้าอย่างนั้นแนะนำว่าน่าจะอยู่บ้านหรือไปสถานที่ที่ตอบสนองสิ่งนั้นๆ ได้ 
ขอย้ำว่าสถานที่นี้มีไว้ฝึกตนให้ลดละเลิกสิ่งที่ยึดติดและเห็นความจริง ตามหลักของธุดงควัตรฯเพื่อความเป็นผู้อยู่ง่ายกินง่าย ดังนั้นขอให้เตรียมสิ่งของตามที่กำหนดไว้เท่านั้นอย่าแบกไป ทุกอย่างๆ ไปแค้มปิ้ง

เรื่องที่ 2 :

สถานที่นี้มีสภาพเป็นป่า ถึงแม้จะปรับปรุงพัฒนาเป็นธุดงคสถานแล้วก็ตาม แต่สภาพป่ายังคงอุดมสมบูรณ์ กุฏิแทรกตัวอยู่ในป่า ในเขา ดังนั้น ผู้ที่จะสมัครต้องประมาณตนได้ ถ้าเป็นคนขี้กลัว กลัวสารพัด ทั้งสัตว์ทั้งผีทั้งความมืดความสงัดมีแต่เสียงของหรีดหริ่งเรไร ขอแนะนำว่า อย่าสมัคร ! เพราะมีทางออกทางเดียวคือจับเรือเมล์กลับเข้าฝั่งวันรุ่งขึ้น เพราะฉะนั้น ต้องมั่นใจในตนเอง

สถานที่นี้สร้างเพื่อนักภาวนาที่ต้องการสถานที่วิเวกเป็นวนปัตถ์จริงๆ ไม่มีใครมาเจอหน้าใคร ต่างคนต่างภาวนา เจอเฉพาะช่วงสวดมนต์ ทานอาหาร ฟังธรรมเท่านั้น ไม่มีการพูดคุยโดยเด็ดขาดและผู้ที่มีโรคประจำตัว กรุณาพิจารณาด้วยตัวเองเนื่องจากถ้าเกิดเจ็บป่วยกระทันหัน การเดินทางเข้าไปหาหมอหรือโรงพยาบาลจะลำบากทีเดียว แม้แต่ผู้ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพก็ต้องอยู่อย่างมีสติ สัมปชัญญะตลอดเวลาในการใช้ชีวิตที่นั่นเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ

เรื่องที่ 3 :

สถานที่นี้เป็นที่ฝึกลดละกิเลสด้วยธุดงควัตร ดังนั้นผู้ที่สมัครมาเข้าต้องถือกรรมฐานธุดงค์อย่างน้อย 5 ข้อ จากธุดงควัตร 13

  1. ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
  2. ถือการนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร
  3. ถือการบิณฑบาตรเป็นวัตร
  4. ถือการบิณฑบาตรไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร
  5. ถือการฉันจังหันมื้อเดียวเป็นวัตร
  6. ถือการฉันในภาชนะเดียวคือฉันในบาตรเป็นวัตร
  7. ถือการห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
  8. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
  9. ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
  10. ถือการอยู่ที่แจ้งเป็นวัตร
  11. ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
  12. ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร
  13. ถือเนสัชชิกังคธุดงค์

ในส่วนสีเหลือง 5 ข้อ โยคีต้องถือเมื่อเข้ามาในสถานที่นี้ ส่วนสีเขียวนั้น แล้วแต่บุคคลและบางโอกาส ส่วนเสื้อผ้าที่นำมาไม่เกินคนละ 4 ชุด **ซักผ้าที่สำนักฯได้** (แต่หากใครจะถือ ธุดงควัตรข้อ 2 ให้นำเอาชุดมาชุดเดียว อาบน้ำได้แต่ให้ใช้ชุดเดียว) ไม่ว่าคอร์สจะกี่วันก็ตาม

นี่เป็นเพียงข้อแนะนำเพื่อให้ท่านได้รู้จักสถานที่คร่าวๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการสมัคร อย่าไปหาเพื่อนคุย เราจะไม่เกรงใจผู้ที่ไม่ภาวนาแล้วยังสร้างความลำบากใจให้ผู้ต้องการหลีกเร้นภาวนา สถานที่นี้สร้างจากผู้ที่มีความตั้งใจเดียวคือความหลุดพ้น ดังนั้น เพื่อประโยชน์ของผู้ต้องการความสงบวิเวก สถานที่นี้มีไว้ฝึกตน ไม่ใช่ไปเที่ยวหาความแปลกใหม่ให้ชีวิตหรือไปสนุกกับการแค้มปิ้ง เดินป่า

ผู้สมัครมีค่าใช้จ่ายในการร่วมกันเป็นเจ้าภาพทั้งที่พัก อาหาร 600 บาท/คน/วัน หรือหากท่านต้องการเป็นเจ้าภาพ เพื่อช่วยสนับสนุนเพื่อให้ได้มีคอร์สปฏิบัติขึ้น สามารถติดต่อคุณเบียร์ได้ (อีเมลล์ yindeetalay@gmail.com)

การเตรียมตัวและการเดินทาง :

  1. เสื้อผ้าไม่เกิน 4 ชุด + เสื้อหนาวหรือผ้าพันคอ (เสื้อสีน้ำตาลเข้ม , กางเกงสีดำ เท่านั้น!) หากไม่มีให้ใช้เสื้อสีขาว ***เสื้อสีหรือลวดลายสีสันและกางเกงสามส่วนหรือกางเกงสีอื่นไม่อนุญาตให้เข้าสำนัก***
  2. ถุงนอน , ไฟฉาย
  3. เครื่องใช้ส่วนตัว (สบู่ แชมพู แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว)
  4. รองเท้าแตะ รองเท้าผ้าใบ
  5. ยาทากันยุง ทิชชู่ส่วนตัว
  6. กระบอกน้ำส่วนตัว
  7. กระเป๋า (ควรเป็นใบเล็กๆ ที่ท่านสามรถแบกขึ้น-ลงเขาได้ด้วยตัวเอง)
  8. หากท่านจะชาร์ตโทรศัพท์ สามารถชาร์ตได้ที่ศาลาส่วนกลาง เนื่องจากกุฏิไม่มีไฟฟ้า และหากจะฟังธรรมจากโทรศัพท์ให้ใช้หูฟัง ห้ามเปิดเสียงเพราะจะรบกวนผู้ปฏิบัติท่านอื่นๆ
  9. สิ่งที่มีให้ในกุฏิ : ที่นอนหนัง หมอนหนัง และอาสนะนั่งสมาธิ

การเดินทางด้วยเครื่องบิน

ท่านสามารถจองตั๋วเครื่องบินได้ตามรายละเอียดนี้ (เที่ยวบินอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับสายการบินนั้นๆ)

  1. วันเปิดคอร์ส (กทม.-สุราษฎร์ธานี)
    สายการบินแอร์เอเชีย :  ดอนเมือง-สุราษฎร์ธานี    เวลา 07.15-08.30 น.
    สายการบินเวียตเจ็ท :   สุวรรณภูมิ-สุราษฏร์ธานี    เวลา 05.50-07.05 น.
    สายการบินไลอ้อนแอร์ : ดอนเมือง-สุราษฎร์ธานี    เวลา 07.00-08.15 น.
    ***หมายเหตุ : สายการบินนกแอร์ยกเลิกเที่ยวบินบ่อย กรุณาศึกษาข้อมูลให้มั่นใจก่อนจองสายการบินนกแอร์ค่ะ***
    ***จุดนัดพบที่สนามบินเพื่อขึ้นรถตู้ไปท่าเรือราชาเฟอร์รี่ เวลา 09.00 น​. จะแจ้งรายละเอียดอีกครั้งผ่านทางอีเมลก่อนจัดคอร์ส***
    ***ค่าใช้จ่าย (จ่ายวันเดินทาง) สำหรับค่ารถและค่าเรือเฟอร์รี่ ไป-กลับ ท่านละ 1,300 บาท ไม่รวมในค่าคอร์ส รายละเอียดจะแจ้งผ่านทางอีเมลก่อนจัดคอร์ส***

    กำหนดการเวลาเดินทาง (วันเปิดคอร์ส)
    09.00-10.30 น.      นั่งรถตู้จากสนามบินไปท่าเรือราชาเฟอร์รี่ (สามารถซื้ออาหารที่ท่าเรือราชาสำหรับทานบนเรือได้)   
    11.00-12.30 น.      เรือราชาเฟอร์รี่ไปเกาะพะลวย
    12.30 น.               ทีมงานรับจากท่าเรือไปที่สำนักฯ โดยรถยนต์
     
  2. วันปิดคอร์ส (สุราษฏร์ธานี-กทม.)
    สายการบินแอร์เอเชีย :   สุราษฎร์ธานี-ดอนเมือง    เวลา 18.00-19.10 น.
    สายการบินไลอ้อนแอร์ : สุราษฎร์ธานี-ดอนเมือง     เวลา 19.10-20.25 น.
    กำหนดการเวลาเดินทาง (วันปิดคอร์ส)
    13.00-14.30 น.      เรือราชาเฟอร์รี่ออกจากเกาะพะลวย
    15.00-16.30 น.      นั่งรถตู้ไปสนามบินสุราษฎร์ฯ

การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว

ท่านสามารถขับรถมาจอดที่ท่าเรือราชา (บริเวณด้านนอกไม่เข้าไปในเขตด้านในเนื่องจากให้เข้าเฉพาะรถที่จะลงเรือ) โดยพิมพ์ใน Google map คำว่า บริษัท ราชาเฟอร์รี่ จำกัด (ดอนสัก) ขับรถไปตามทางได้เลยค่ะ

เมื่อถึงท่าเรือสอบถามจากทางเจ้าหน้าที่ เข้าไปด้านในจุดลงเรือ และติดต่อซื้อตั๋วเรือไปเกาะพะลวย ราคา 350 บาท

หากท่านต้องการนำรถลงเรือ สามารถทำได้ ค่ารถลงเรือ (รวมคนขับ 1 คน)​ ราคา 1,000 บาท (โดยขับรถเข้าไปยังจุดขายตั๋วด้านในพร้อมกับซื้อตั๋วด้านในค่ะ แจ้งว่าเอารถลงเรือไปเกาะพะลวย) ***หากท่านนำรถไปสำนักฯ ที่เกาะพะลวย กรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบค่ะ***

กำหนดการเดินเรือของราชาเฟอร์รี่ เส้นทาง ดอนสัก-เกาะพะลวย วิ่งวันละ 1 เที่ยว ค่าตั๋วโดยสารท่านละ 350 บาท

-ท่าเรือราชาเฟอร์รี่ (ดอนสัก) – เกาะพะลวย เวลา 11.00-12.30 น.

-เกาะพะลวย – ท่าเรือราชาเฟอร์รี่ (ดอนสัก) เวลา 13.00-14.30 น. (อาจจะมีล่าช้าประมาณ 30-40 นาที)

ร่วมเป็นเจ้าภาพตลอดหลักสูตร วันละ 400 บาท/คน

คอร์ส 8 วัน (3,200 บาท)

คอร์ส 9 วัน (3,600 บาท)

หรือแล้วแต่ร่วมบุญตามกำลัง

คอร์สมัคคานุคา

ข้อมูลคอร์ส
วันที่
9-12 สิงหาคม 2024
สถานที่จัด
สวนยินดีทะเล อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช
สมัคร
เว็บไซต์
ค่าอาหารและที่พัก
3,200 บาท
แจ้งเดินทาง
ใช่

รายละเอียด

– การเตรียมตัวและกฎระเบียบต่างๆ :

  1. ห้ามใช้กระเป๋าเดินทางใบใหญ่ ขอให้ใช้เป้หรือกระเป๋านิ่มเพื่อความสะดวก ในการรับ-ส่ง
  2. แต่งกายด้วยเสื้อสีขาว หรือ สีน้ำตาลเข้ม, กางเกงขายาวสีดำ
  3. สำหรับคอร์สมัคคานุคา (ปฏิจจฯ) ทานอาหารเพียง 1 มื้อเท่านั้น
  4. ร่วมเป็นเจ้าภาพตลอดหลักสูตรวันละ 600 บาท และค่ารถรับ-ส่งสนามบิน ท่านละ 500 บาท (สำหรับท่านที่เดินทางโดยเครื่องบิน) **หากท่านใดขับรถมาเองไม่ต้องจ่ายค่ารถรับ-ส่งสนามบิน**
  5. ศีลแปด ปิดวาจา เน้นภาวนาเองเป็นหลัก ฟังธรรมตามสมควร ห้ามใช้เครื่อง มือสื่อสารทุกชนิด 
  6. งดสูบบุหรี่ และงดสิ่งเสพติดทุกชนิด
  7. กรุณาเตรียมผ้าห่มหรือถุงนอนมาด้วย เนื่องจากทางสวนยินดีทะเลมีให้เฉพาะผ้าปูที่นอนและปลอกหมอน

– กำหนดการคอร์สมัคคานุคา สวนยินดีทะเล อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช 

วันแรก:

  • 11.00-13.00 น. ลงทะเบียน + รับประทานอาหารกลางวัน
  • 13.00-16.30 น. ขึ้นกรรมฐาน สมาทานศีลแปด ธรรมบรรยาย
  • 16.30-18.00 น. ปานะ พักผ่อน ทำภาระกิจส่วนตัว
  • 18.00-19.00 น. สวดมนต์ทำวัตรเย็น
  • 19.00-21.00 น. ธรรมบรรยาย

วันที่สองและสาม :

  • 04.00-05.00 น. ตื่นนอน + ภาวนา
  • 05.00-06.00 น. สวดมนต์ทำวัตรเช้า
  • 06.00-07.30 น. ธรรมบรรยาย
  • 07.30-09.30 น. อาหารเช้า
  • 09.30-11.00 น. ธรรมบรรยาย
  • 11.00-13.00 น. อาหารกลางวัน + พักผ่อน
  • 13.00-14.00 น. ภาวนา
  • 14.00-15.00 น. ธรรมบรรยาย
  • 15.00-15.30 น. พัก
  • 15.30-16.30 น. ธรรมบรรยาย
  • 16.30-18.00 น. พักผ่อนทำภาระกิจส่วนตัว
  • 18.00-19.00 น. สวดมนต์ทำวัตรเย็น
  • 19.00-21.00 น. ธรรมบรรยาย

วันที่สี่ (วันสุดท้าย) :

  • 04.00-05.00 น. ตื่นนอน + ภาวนา
  • 05.00-06.00 น. สวดมนต์ทำวัตรเช้า
  • 06.00-07.30 น. ธรรมบรรยาย
  • 07.30-09.30 น. อาหารเช้า
  • 09.30-12.00 น. ธรรมบรรยาย + ปิดคอร์ส
  • 12.00-13.00 น. อาหารกลางวัน และเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ 

บรรยายกรุงเทพ ครั้งที่ 1/2567 อานาปานสติสรุปปฏิบัติอย่างเข้าใจ

ข้อมูลคอร์สข้อมูลคอร์ส
วันที่
4 สิงหาคม 2024
สถานที่จัด
บริษัท พี.เอส.ฟู้ด โปรดักส์ จำกัด (หอประชุมชั้น 3 อาคารเอ)
สมัคร
เจ้าภาพ
ค่าอาหารและที่พัก
ร่วมเป็นเจ้าภาพ 300 บาท
แจ้งเดินทาง

รายละเอียด

บรรยายกรุงเทพ ครั้งที่ 1/2567 เรื่อง อานาปานสติ สรุปปฏิบัติอย่างเข้าใจ

(ไม่ใช้คำบาลีเลย)

วันที่ 4 สิงหาคม 2567

สถานที่ หอประชุมชั้น 3 อาคาร A บริษัท พี.เอส.ฟู้ด โปรดักส์ จำกัด

รับจำนวน 500 คน

***เปิดรับสมัครผ่านลิงค์ ในวันที่ 1 มิถุนายน 2567***

กำหนดการ :

08.30-09.30 น. ลงทะเบียน

09.30-12.00 น. บรรยาย

12.00-13.00 น. รับประทานอาหาร

13.00-15.00 น. บรรยาย

**ร่วมเป็นเจ้าภาพอาหารและการจัดงาน ท่านละ 300 บาท**

การแต่งกาย :

แต่งกายด้วยชุดสุภาพ ไม่ใส่เสื้อคอลึก เสื้อบาง กางเกงขาสั้น และเป็นชุดที่สะดวกในการนั่งพื้น นั่งสมาธิฟังธรรม (เน้นการนั่งพื้นเป็นหลัก) …ท่านที่มีปัญหาข้อเข่าหรือท่านผู้สูงอายุมีเก้าอี้หลังห้องบริการ

การเดินทาง :

แผนที่ Google map :

PS Foods

ท่านที่นำรถมาสามารถจอดรถในโรงงานได้

การเดินทางด้วย BTS ลงรถที่สถานี การเคหะฯ มีรถบริการรับส่งติดป้าย “ฟังธรรม อ.ประเสริฐ”

รอบรถวิ่งทุก 30 นาที ในเวลา 07.00 / 07.30 / 08.00 และ 08.30 น.

ขั้นตอนการสมัคร :

คลิกสมัครที่ลิงค์ –> อ่านรายละเอียดให้ชัดเจน และโอนเงินเก็บสลิปรอไว้ก่อนการกรอกรายละเอียดสมัคร –> กรอกรายละเอียด –> แนบสลิปการโอนเงิน –> กด Submit (เสร็จสิ้นการสมัคร)
**ท่านจะได้รับอีเมลตอบรับการสมัครอัตโนมัติ หากไม่ได้รับ กรุณาเช็คที่ Junk Mail ของท่าน**

ลิงค์สำหรับคลิกสมัครตามด้านล่างนี้ค่ะ

https://form.jotform.com/241521764011445